วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย



สรุปงานวิจัย    เรื่อง  การพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสม   




สรุปบทนำ 
 
                การจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยเพื่อวางรากฐานที่ดีให้แก่เด็กมีโอกาสได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้นขึ้นอยู่กับช่วงแรกของชิวิตว่าได้รับการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในวัยนี้ควรเป็นไปอย่าเหมาะสมกับวัย
 
  ความมุ่งหมายของการวิจัย
 
                        1. เพื่อสร้างชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
                        2.เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อประสม เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
 
 วิธีการดำาเนินการวิจัย
 
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา2552 จำนวน10 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
 
ผลการวิจัย
 
การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 3-4 ขวบ ประกอบด้วยการเปรียบเทียบ การจับคู่ การวัด การนับ การจัดหมวดหมู่ รูปทรง 
 
อภิปรายผล
 
สื่อประกอบการเรียนรู้หลากหลายชนิดได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ ของจริง ของจำลอง เกม และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดยครอบคลุมขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงอายุระหว่าง 3-4 ขวบ
 
แหล่งที่มา 
 
 
 
 
 
เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่่ 10:15  ไม่มีความคิดเห็น


วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556



สรุปงานวิจัย    เรื่อง     การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ : กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำาดับเวลา


สรุปบทนำ    


                      การนำาวิจัยปฏิบัติการมาใช้แก้ไขปัญหาให้ได้ประสิทธิภาพจำาเป็นต้องมีการประเมินความต้องการจำาเป็นของกลุ่มเป้าหมายก่อนลงมือปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาซึ่งกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำาดับเวลาของแมคเคอร์แนน ที่ใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  มีหลักการสำาคัญ คือ หลังจากระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกันแล้วจะทำาการประเมินความต้องการจำาเป็นของกลุ่มเป้าหมาย  จากนั้นจัดเรียงลำาดับความสำาคัญและทำาการวิเคราะห์สาเหตุ

การศึกษากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยนั้น เด็กจะต้องสามารถ นับเลข รู้ค่าตัวเลข 
(จำานวน) จับคู่เปรียบเทียบและการเรียงลำาดับได้ 


   ความมุ่งหมายของการวิจัย

                    เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลา 

 วิธีการดำาเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 
2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ อำาเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำานวน 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
2. แบบประเมินความต้องการจำาเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำานวน 18 แผน 
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ 
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย

1.   ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 1 
         ผู้จัยได้ดำาเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 1 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แผนที่ 1-9 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ 

2. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 2 
           ผู้วิจัยได้ดำาเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แผนที่ 10-18 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ 


อภิปรายผล

         1.การใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิดของเจมส์ แมคเคอร์แนนซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆในแต่ละวงจรทั้งหมด 8 ขั้นตอน  เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง การนับ การรู้ค่าตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเทียบและการเรียงลำาดับที่มีประสิทธิภาพ

          2. การศึกษาผลการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลาในขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติและขั้นการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ผู้วิจัยได้กำาหนดกิจกรรมการพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำาเสนอเนื้อหา ขั้นที่ 2 ฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ประเมินผลการปฏิบัติและใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน คือ ขั้นนำา ขั้นสอน ขั้นสรุป โดยใช้กิจกรรมการพัฒนาในขั้นสอน 

แหล่งที่มา 
    
http://grad.msu.ac.th/jem/home/journal_file/254.pdf



เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่่ 10:15  ไม่มีความคิดเห็น



 


วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556



งานกลุ่ม การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ หน่วย มะพร้าว


วันจันทร์ ชนิดของมะพร้าว



วันอังคาร  ลักษณะของมะพร้าว




วันพุธ ประโยชน์ของมะพร้าว




วันพฤหัสบดี ประกอบอาหาร(น้ำมะพร้าว)



วันศุกร์ อาชีพ





เขียนโดย  จันจิรา  จันทคาม  ที่08:57 ไม่มีความคืดเห็น 





วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16

วันนี้จบการเรียนการในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะสาธิตการสอนอาจารย์ได้เปิดสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยาให้ได้ดู ซึ่งมีดังนี้


Mind Mapping หน่วยที่เรียน


ตารางเปรียบเทียบลักษณะ


 สื่อที่ทำจากแกนทิชชู่ 

               หลังจากที่อาจารย์ได้ให้ดูเสร็จแล้วก็ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอนต่อ โดยกลุ่มที่ออกมาต่อไป คือ หน่วย ข้าว



กลุ่มต่อไปคือ หน่วย สับปะรด





เขียนโดย  จันจิรา จันทคาม  ที่ 08:44 ไม่มีความคิดเห็น




วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

อาจารย์ได้ให้ออกมาสาธิตการสอน ซึ่งกลุ่มแรกที่ออกมา คือ หน่วย ผลไม้ ประกอบด้วย

วันที่ จันทร์ ชนิดของผลไม้



วันอังคาร ลักษณะของผลไม้ ซึ่งยกมา 2 ชนิด คือ ส้ม กับ สับปะรด



วันพุธ ประโยชน์ของผลไม้ ซึ่งเล่าเป็นนิทาน



วันพฤหัสบดี การถนอมอาหาร


วันศุกร์ การขยายพันธุ์ ไม่ได้นำเสนอให้เห็น 
หลังจากจบการนำเสนออาจารย์ได้สรุปและให้ข้อแนะนำกับกลุ่มที่จะออกมาสาธิตครั้งต่อไป

เขียนโดย จันจิรา จันทคาม  ที่ 08:36 ไม่มีความคิดเห็น



วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันนี้ไม่มีการเรียนสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย 
               ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์หน้า
ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบสอนตามหน่วยที่กำหนดขึ้นมาเองในกลุ่ม โดยออกมาสอน 5 คน คนละวัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 10-20 ต่อคน

หน่วยของกลุ่มข้าพเจ้า คือ มะพร้าว



เขียนโดย  จันจิรา  จันทคาม  ที่ 08:29 ไม่มีความคิดเห็น




วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

             วันนี้อาจารย์ดูงาน Mind Map ที่กลับไปแก้ไขครั้งที่แล้วอีกครั้ง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนในเรื่องของสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์


งานที่ได้รับมอบหมาย ให้นักศึกษาทำ Mind Map เรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยทำใส่ลงใน A4 ส่งในคาบต่อไป


เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่ 08:25 ไม่มีความคิเห็น



วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

              วันนี้อาจารย์ให้ส่งหน่วยที่เป็นแบบ Mind Map และงานเดี่ยวที่เป็นแผนการจัดกิจกรรม 5 วัน เพื่อตรวจและนำจุดที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข หลังจากส่งงานเสร็จอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของเพื่อน ในหน่วยเรื่อง ไข่ โดยอธิบาย ดังนี้

ชนิดของไข่



- สอนให้เด็กรู้จักชนิดของใครโดยถามเด็กว่ารู้จักไข่ชนิดใดบ้าง
- สอนในเรื่องของ สี  
- สอนในเรื่องของการแยกประเภท
- สอนในเรื่องของ เปรียบเทียบ และจำนวน 
- สอนในเรื่องของ ขนาด 
- สอนในเรื่องของ รูปทรง 

เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่ 08:20 ไม่มีความคิดเห็น



วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11

           อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน หลังจากอาทิตย์ที่แล้วได้นำคำแนะนำแล้วเอาไปแก้ไขเริ่มต้นจากกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มทำสื่อนับจำนวน


กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มทำสื่อสถิติและกราฟ 


กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มทำสื่อปฎิทิน 


          หลังจากจบการนำเสนอสื่อแต่ละชิ้นพร้อมได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขแล้วอาจารย์ได้สอนในเรื่องหน่วยที่ต้องจัดให้แก่เด็กปฐมวัยในแต่ละวันและสัปดาห์ โดยอาจารย์ยกตัวอย่าง เรื่อง หน่วยแตงโม 


งานที่ได้รับมอบหมาย ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน คิดหน่วยอะไรก็ได้มา 1 หน่วย พร้อมทำ Mind Map ลงในกระดาษ A3 และเขียนใบจัดกิจกรรม 5 วัน ส่งให้ตรวจอาทิตย์หน้า

โดยกลุ่มดิฉันเลือก หน่วย มะพร้าว


เขียนโดย จันจิรา จันทคาม  ที่ 08:12 ไม่มีความคิดเห็น





วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10

           อาจารย์ได้ตรวจสื่่อของแต่ละกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำและบอกให้แก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ยังใช้ไม่ได้โดยทั้งหมดมี 3 กลุ่ม คือ

 1.กลุ่มทำสื่อนับจำนวน
 2.กลุ่มทำสื่อกราฟ
 3.กลุ่มทำสื่อปฎิทิน (กลุ่มของข้าพเจ้า)



เขียนโดย จันจิรา จันทคาม  ที่ 08:02 ไม่มีความคิดเห็น 





วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

              ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ เนื่องจากเป็นช่วงหยุดวันปีใหม่ 2556



เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่ 07:58  ไม่มีความคิดเห็น  





วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

             ไม่มีการเรียนการสอน

 หมายเหตุ เป็นการสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 20 - 26 ธันวาคม พ.ศ.2555





เขียนโดย จันจิรา จันทคาม  ที่ 07:50  ไม่มีความคิดเห็น





วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับการคิด การคำนวณ โดยใช้หลักความเป็นเหตุเป็นผล
เกณฑ์หรือมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งในการกำหนดเกณฑ์มาตราฐาน สสวท.เป็นผู้
กำหนด มีดังนี้

เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่ 07:44  ไม่มีความคิดเห็น  



วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

            อาจารย์ได้เข้าสู่การเรียนการสอน ในเรื่องที่สอนยังคงเป็นในเรื่องของขอบข่ายของคณิตศาสตร์ทั้ง 12 ข้อ โดยยกตัวอย่างกับกล่องที่เตรียมมา ว่าจะนำมาใช้จัดประสบการณ์ได้อย่างไร เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่างครบทั้ง 12 ข้อแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เริ่มกิจกรรมดังนี้
ให้จับกลุ่ม 11 คนแล้วนำกล่องที่เตรียมมาของทุกคนในกลุ่มมาต่อกันให้เป็นรูปตามความคิดของแต่ละคนในกลุ่ม โดยที่มีข้อบังคับว่า 
- กลุ่มแรก วางแผน ปรึกษา พูดได้ 
- กลุ่มสอง วางแผน แต่พูดไม่ได้
- กลุ่มสาม วางแผน พูดได้ แต่ต้องติดทีละคน
หลังจากทุกกลุ่มสร้างผลงานเสร็จแล้ว ก็ได้นำผลงานมาส่งหน้าห้อง
อาจารย์ได้พูดถึงการนำวัสดุรอบตัวมาใช้กับการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สุงสุด แล้วอาจารย์ก็ได้เริ่มดูผลงานแต่ละชิ้น โดยผลงานแต่ละกลุ่มมีชื่อ ดังนี้ 
- กลุ่มแรก หุ่นยนต์
- กลุ่มสอง สถานนีรถไฟบางรัก
- กลุ่มสาม บ้านหลากสี





งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ให้แต่ละกลุ่มประดิษฐ์งานที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่มอบหมาย ดังนี้
- กลุ่มแรก ประดิษฐ์ที่ร้อยจำนวน
- กลุ่มสอง ประดิษฐ์ปฏิทิน
- กลุ่มสาม ประดิษฐ์ที่วัดแบบกราฟ
2.ให้เขียนชื่อเรื่องงานวิจัยที่หามา โดยที่งานวิจัยนั้นๆต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์


เขียนโดย จันจิรา จันทคาม   ที่ 07:37  ไม่มีความคิดเห็น







บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2555

  วันนี้อาจารย์สอนและอธิบายเรื่องขอบข่ายของคณิตศาสตร์ ว่ามีอะไรบ้าง ในระดับปฐมวัยศึกษาของเนื้อหาหรือทักษะ 

(นิตยา ประพฤติกิจ) มีดังนี้

1.การนับ ->เลข (สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า ตัวเลขฮินดูอารบิก)
2.ตัวเลข ->กำกับค่า ลำดับที่ 
3.การจับคู่ -> สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน
4.การจัดประเภท 
5.การเปรียบเทียบ -> ใช้การสังเกต เด็กจะตอบตามที่ตาเห็น
6.การจัดลำดับ -> หน้า/หลัง ,  เตี้ย/สูง 
7.รูปทรงและพื้นที่ -> รูปทรงมิติ เนื้อที่ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด -> หาค่า ปริมาณ ความยาว
9.เซต -> การจับกลุ่ม
10.เศษส่วน -> การแบ่งให้เท่าหรือไม่เท่า  ,เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย -> การทำตามแบบที่อยู่บนพื้นฐานวิธีการเรียนรู้ของเด็ก/ ต้องมีอิสระในการตัดสินใจ

12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
     -> -รูปธรรม-เห็นจริงปฏิบัติจริง
         -นามธรรม-สามารถคิดได้โดยไม่ต้องเห็นรูป หรือปฏิบัติจริง
         -กึ่งสัญลักษณ์-ถ้าเป็นส้อมก็ให้ใช้รูปส้อมมาให้เด็กดู
         -การอนุรักษ์-เด็กจะมองว่าบอกปริมาณคงที่แม้รุปร่างจะเปลี่ยนแปลงไป


(เยาวพา เดชะคุปต์) มีดังนี้ 

1.การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่ การจับคู่ 1:1 การจับคู่สิ่งของ 
2.จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.ระบบจำนวนและชื่อของตัวเลข 1=หนึ่ง 2=สอง
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวมการแยกเซต
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยชน์คณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาตร คุณภาพต่างๆ 
7.การวัด ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของเงินตรา อุณหภูมิ 
8.รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด 
9.สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิการเปรียบเทียบต่างๆ

***อาจารย์สั่งงานอาทิตย์หน้าให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง***


เขียนโดย จันจิรา จันทคาม  ที่ 07:25   ไม่มีความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4
            วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรมกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์ ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยทำหน้าที่ นักกีฬา วิ่ง 200 เมตรหญิง

 ภาพกิจกรรม









การจัดการแข่งขันกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์ในครั้งนี้สิ่งที่ได้รับคือ

1. ความสามามัคคีภายในหมู่คณะ
2. ความมีน้ำใจ
3. ความสนุกสนาน


เขียนโดย จันจิรา จันทคาม ที่ 22:56 ไม่มีความคิดเห็น