วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย



สรุปงานวิจัย    เรื่อง  การพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสม   




สรุปบทนำ 
 
                การจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยเพื่อวางรากฐานที่ดีให้แก่เด็กมีโอกาสได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้นขึ้นอยู่กับช่วงแรกของชิวิตว่าได้รับการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในวัยนี้ควรเป็นไปอย่าเหมาะสมกับวัย
 
  ความมุ่งหมายของการวิจัย
 
                        1. เพื่อสร้างชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
                        2.เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อประสม เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
 
 วิธีการดำาเนินการวิจัย
 
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา2552 จำนวน10 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
 
ผลการวิจัย
 
การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 3-4 ขวบ ประกอบด้วยการเปรียบเทียบ การจับคู่ การวัด การนับ การจัดหมวดหมู่ รูปทรง 
 
อภิปรายผล
 
สื่อประกอบการเรียนรู้หลากหลายชนิดได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ ของจริง ของจำลอง เกม และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดยครอบคลุมขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงอายุระหว่าง 3-4 ขวบ
 
แหล่งที่มา 
 
 
 
 
 
เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่่ 10:15  ไม่มีความคิดเห็น


วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556



สรุปงานวิจัย    เรื่อง     การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ : กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำาดับเวลา


สรุปบทนำ    


                      การนำาวิจัยปฏิบัติการมาใช้แก้ไขปัญหาให้ได้ประสิทธิภาพจำาเป็นต้องมีการประเมินความต้องการจำาเป็นของกลุ่มเป้าหมายก่อนลงมือปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาซึ่งกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำาดับเวลาของแมคเคอร์แนน ที่ใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ  มีหลักการสำาคัญ คือ หลังจากระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกันแล้วจะทำาการประเมินความต้องการจำาเป็นของกลุ่มเป้าหมาย  จากนั้นจัดเรียงลำาดับความสำาคัญและทำาการวิเคราะห์สาเหตุ

การศึกษากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยนั้น เด็กจะต้องสามารถ นับเลข รู้ค่าตัวเลข 
(จำานวน) จับคู่เปรียบเทียบและการเรียงลำาดับได้ 


   ความมุ่งหมายของการวิจัย

                    เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลา 

 วิธีการดำาเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 
2553 โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำานวยศิลป์ อำาเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำานวน 35 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
2. แบบประเมินความต้องการจำาเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
3. แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ จำานวน 18 แผน 
4. แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ 
5. แบบสัมภาษณ์นักเรียน โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 
6. ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
7. แบบประเมิน วัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย

1.   ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 1 
         ผู้จัยได้ดำาเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 1 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แผนที่ 1-9 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ 

2. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 2 
           ผู้วิจัยได้ดำาเนินการพัฒนาวงจรปฏิบัติการช่วงลำาดับเวลาที่ 2 โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แผนที่ 10-18 โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ 


อภิปรายผล

         1.การใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิดของเจมส์ แมคเคอร์แนนซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆในแต่ละวงจรทั้งหมด 8 ขั้นตอน  เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง การนับ การรู้ค่าตัวเลข การจับคู่ การเปรียบเทียบและการเรียงลำาดับที่มีประสิทธิภาพ

          2. การศึกษาผลการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลาในขั้นพัฒนาแผนปฏิบัติและขั้นการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ผู้วิจัยได้กำาหนดกิจกรรมการพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำาเสนอเนื้อหา ขั้นที่ 2 ฝึกปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ประเมินผลการปฏิบัติและใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน คือ ขั้นนำา ขั้นสอน ขั้นสรุป โดยใช้กิจกรรมการพัฒนาในขั้นสอน 

แหล่งที่มา 
    
http://grad.msu.ac.th/jem/home/journal_file/254.pdf



เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่่ 10:15  ไม่มีความคิดเห็น



 


วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556



งานกลุ่ม การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ หน่วย มะพร้าว


วันจันทร์ ชนิดของมะพร้าว



วันอังคาร  ลักษณะของมะพร้าว




วันพุธ ประโยชน์ของมะพร้าว




วันพฤหัสบดี ประกอบอาหาร(น้ำมะพร้าว)



วันศุกร์ อาชีพ





เขียนโดย  จันจิรา  จันทคาม  ที่08:57 ไม่มีความคืดเห็น 





วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 16

วันนี้จบการเรียนการในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะสาธิตการสอนอาจารย์ได้เปิดสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยาให้ได้ดู ซึ่งมีดังนี้


Mind Mapping หน่วยที่เรียน


ตารางเปรียบเทียบลักษณะ


 สื่อที่ทำจากแกนทิชชู่ 

               หลังจากที่อาจารย์ได้ให้ดูเสร็จแล้วก็ได้ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอนต่อ โดยกลุ่มที่ออกมาต่อไป คือ หน่วย ข้าว



กลุ่มต่อไปคือ หน่วย สับปะรด





เขียนโดย  จันจิรา จันทคาม  ที่ 08:44 ไม่มีความคิดเห็น




วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

อาจารย์ได้ให้ออกมาสาธิตการสอน ซึ่งกลุ่มแรกที่ออกมา คือ หน่วย ผลไม้ ประกอบด้วย

วันที่ จันทร์ ชนิดของผลไม้



วันอังคาร ลักษณะของผลไม้ ซึ่งยกมา 2 ชนิด คือ ส้ม กับ สับปะรด



วันพุธ ประโยชน์ของผลไม้ ซึ่งเล่าเป็นนิทาน



วันพฤหัสบดี การถนอมอาหาร


วันศุกร์ การขยายพันธุ์ ไม่ได้นำเสนอให้เห็น 
หลังจากจบการนำเสนออาจารย์ได้สรุปและให้ข้อแนะนำกับกลุ่มที่จะออกมาสาธิตครั้งต่อไป

เขียนโดย จันจิรา จันทคาม  ที่ 08:36 ไม่มีความคิดเห็น



วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14

วันนี้ไม่มีการเรียนสอน

งานที่ได้รับมอบหมาย 
               ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เรื่องสาระและมาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์หน้า
ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบสอนตามหน่วยที่กำหนดขึ้นมาเองในกลุ่ม โดยออกมาสอน 5 คน คนละวัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 10-20 ต่อคน

หน่วยของกลุ่มข้าพเจ้า คือ มะพร้าว



เขียนโดย  จันจิรา  จันทคาม  ที่ 08:29 ไม่มีความคิดเห็น




วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

             วันนี้อาจารย์ดูงาน Mind Map ที่กลับไปแก้ไขครั้งที่แล้วอีกครั้ง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนในเรื่องของสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์


งานที่ได้รับมอบหมาย ให้นักศึกษาทำ Mind Map เรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยทำใส่ลงใน A4 ส่งในคาบต่อไป


เขียนโดย จันจิรา  จันทคาม  ที่ 08:25 ไม่มีความคิเห็น